ประวัติความเป็นมาและการเรียนรู้ถึงอันตรายของระบบไฟฟ้า
- ในศตวรรษที่ 18 ได้พบว่าไฟฟ้าสถิตเกิดจากการขัดสีของวัสดุที่เป็นฉนวนบางชนิด ซึ่งการค้นพบปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์
- ในปี ค.ศ. 1749 ในการทดลองที่อันตราย 2-3 ครั้ง ของเบนจามิน แฟรงคลิน แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของฟ้าผ่า
- ในปี 1780 ลุยจิ กัลป์วานี ได้พบว่า เมื่อเขาคีมขากบทดลองกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิตที่วางอยู่บนจานโหละ ทำให้ขากบเกิดการเคลื่นไหว และหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
- ในปี ค.ศ. 1880 เอดิสัน ได้มีการยกระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อให้ส่งกระแสไฟฟ้าไปได้หลายๆ กิโลเมตร ซึ่งได้ยกระดับแรงดันถึง 100 โวลต์ดีซี และเพิ่มแรงดัน ถึง 1,300 โวลต์ดีซี ในปี 1882 (ใช้ในงานแสดงสินค้าในเมืองมิวนิก) และ ถึง 3,000 โวลต์ดีซี (ซึ่งเชื่อมระหว่างเมือง Grenoble-Vigille)
- ในปี ค.ศ. 1883 จากประสบการณ์ในการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าของอดิสัน ทำให้รู้ว่าเมื่อเกิดความผิดพร่องของฉนวนทำให้เกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้าและเกิดการลัดวงจน และจากประสบการณ์เช่นเดียวกัน ที่แรงดันระดับแรงดันไฟฟ้า 100 โวลต์ดีซี นั้นสามารถสัมผัสได้โดยไม่มีความเสี่ยง
- ในปี ค.ศ. 1886 เทสล่า และ เวสติงเฮาซ์ ได้มีการสร้างระบบจำหน่ายขึ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 500 โวลต์เอซี 12 แอมป์ และมีหม้อแปลงขนาดเล็ก 16 ลูก สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟ ด้วยแรงดัน 100 โวลต์เอซี เป็นครั้งแรก
- ในปี ค.ศ. 1889 เกิดการต่อสู้ทางความคิดขึ้นระหว่างระบบไฟฟ้าเอซีและดีซี ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยเอดิสันได้กล่าวปกป้องระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ของเขา และอธิบายถึงอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ของเทสล่าและเวสติงเฮาซ์ ว่ามีอันตรายต่อบุคคลโดยทดลองดูกับสุนัขและม้า
เอดิสันได้ท้าทายเวสติงเฮาซ์กันตัวต่อตัว โดยที่แต่ละคนรับแรงดันที่ระดับเท่ากัน โดยเริ่มด้วยแรงดัน 100, 150, 200 โวลต์ และแรงดันอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเอดิสันจะป้อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง และเวสติงเฮาซ์ป้อนด้วยไฟฟ่ากระแสสลับ ซึ่งเอดิสันทายว่าเวสติงเฮาซ์จะตายถ้าแรงดันถึง 200 โวลต์เอซี ผลการท้าทายไม่ปรากฏผลออกมา แต่มีเหตุการณ์ช่างโทรเลขได้ปีนเสาถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตในกลางกรุงนิวยอร์ก
- ในปี ค.ศ. 1980 เอดิสันได้ประดิษฐ์เก้าอี้ไฟฟ้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าไฟฟ้ากระแสสลับมีอันตรายกว่าไฟฟ้ากระแสตรงของเขา โดยนำไปใช้กับ เครมเมอร์นักโทษประหาร โดยการถูกให้นั่งเก้าอี้ไฟฟ้าและถูกดูดด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นคนแรก
- ดังนั้นในสิ้นศตวรรษที่ 19 ได้เป็นที่ประจักษ์ในวงการวิทยาศาสตร์ว่า กระแสไฟฟ้ามีอันตรายต่อมนุษย์ และกระแสไฟฟ้าสลับมีอันตรายมากกว่าไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าเดียวกัน)
Cr. จากหนังสือการต่อลงดินระบบไฟฟ้า เล่ม 1 เขียนโดย อ. วิวัฒน์ กุลวงศ์วิทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น