ผดุงเกียรติ ทวีศักดิ์พจน์

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลักการคิด

หนึ่งในหลักสำคัญๆ ของการพัฒนาตัวเองหรือการทำให้ตัวเราก้าวไปอีกขั้นนั้นก็คือการคิดออกจากกรอบแบบเดิมๆ เพื่อให้ตัวเราสามารถเห็นโอกาสใหม่ๆ ในชีวิต ยิ่งถ้าเราสามารถมองเห็นโอกาสต่างๆ มากขึ้นมันก็จะยิ่งเป็นตัวพลักดันให้เราได้ท้าทายตัวเองในปัจจุบันได้ (พูดกันง่ายๆ คือถ้าเรามองไม่เห็นโอกาส เราก็คงไม่ลงมือทำอะไรกันง่ายๆ เป็นแน่)
ทีนี้การจะพยายาม “คิดไกล” หรือ “คิดใหญ่” นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เช่นกันโดยเฉพาะกับคนเราที่มักจะมีสมาธิกันยากๆ เนื่องจากมีอะไรมากมายเกิดขึ้นในแต่ละวัน ไหนจะมีสิ่งรบกวนใจหรือทำให้เราต้องคิดโน่นคิดนี่กันอยู่ตลอดเวลา
เอาจริงๆ มนุษย์เราคงมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งคือเรื่องสมองและความคิดซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนทั่วๆ ไปหรือคนที่เก่งๆ ก็มันจะมีความคิดที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่สมองอยู่เกือบตลอดเวลา แต่เพื่อจะให้เราสามารถทำให้ความคิดของเรานั้นมีประสิทธิภาพและสอดรับกับเป้าหมายที่เราวางไว้นั้น เราเองก็คงต้องมีการจัดระบบความคิดกันเสียหน่อย ซึ่งก็มีหลัก 3 อย่างที่ควรทำเพื่อเป็นแนวทางในการจัดระบบความคิดที่น่าจะเอาไว้ใช้กันนะครับ

1. สนใจกับสิ่งที่สำคัญจริงๆ


โลกเรามีเรื่องราวเป็นล้านสิ่งให้เราสนใจและเรียนรู้กัน แค่พูดเรื่องใหม่ๆ ที่ให้เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมก็คงมีมากมายชนิดเรียนกันทั้งชีวิตก็ไม่หมด มันเลยเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณควรรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณควรสนใจ อะไรคือความรู้ ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับคุณ ตลอดไปจนถึงคุณควรรู้ตัวว่าคุณควรจะคิดเรื่องอะไร (จริงๆ) เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะเสียเวลาไปคิดหรือเรื่องไม่เป็นเรื่องเอาได้ง่ายๆ นั่นยังไม่นับถึงเรื่องทัศนคติที่จะมีผลกับความคิดของคุณอีกเช่นการคิดแง่ลบหรือเอาแต่โทษตัวเองก็จะดึงพลังชีวิตคุณไปเช่นกัน

2. เอาพลังของคุณให้กับสิ่งสำคัญ

หลังจากที่คุณรู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่คุณควรจะคิดหรือโฟกัส คุณก็ต้องเอาพลังของคุณเองทุ่มให้กับมันให้เต็มที่เพื่อให้คุณสามารถตักตวงจากมันได้มากที่สุด เราต้องไม่ลืมว่าต่อให้เรารู้หรือสนใจอะไรมากแค่ไหน แต่หากเราไม่ได้ใช้เวลากับมัน ไม่ให้ทุ่มเทกับมัน โอกาสที่มันจะเติบโตและสามารถกลายเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตได้ก็คงจะยากอยู่ ถ้าเรารู้ว่าอะไรที่จำเป็นในการสร้างอนาคตของเรา เราก็ต้องรู้จักหาเวลาให้กับมันให้มากที่สุดให้ได้นั่นแหละครับ

3. ใช้ชีวิตอยู่กับมัน

การพูดว่าจะหาเวลามาให้กับสิ่งสำคัญนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ในวันแรกๆ เหมือนกับที่เรามักจะทุ่มเทอ่านหนังสือหรือออกกำลังกายในช่วงวันแรกๆ แต่ภายหลังก็จะเริ่มขี้เกียจหรือเลิกกันได้ง่ายๆ ซึ่งความคิดของเราก็เช่นกันที่บางทีเราอาจจะมีไอเดียอะไรดีๆ มีสิ่งที่เราอยากคิดต่อเยอะๆ แต่พอเวลาผ่านไปนานาๆ เราก็ลืมหรือไม่เอามาคิดต่อก่อนที่สุดท้ายจะลืมไป การบอกให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่กับมันคือการที่เราไม่ปล่อยให้มันหายไปตามกาลเวลาหรือถูกสิ่งอื่นแย่งความสำคัญไป มันคือภาวะที่ประเภท “กัดไม่ปล่อย” เพื่อให้ความคิดดังกล่าวงอกเงยและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราให้ได้นั่นแหละ

ประวัติความเป็นมาของระบบไฟฟ้า

ประวัติความเป็นมาและการเรียนรู้ถึงอันตรายของระบบไฟฟ้า


- ในศตวรรษที่ 18 ได้พบว่าไฟฟ้าสถิตเกิดจากการขัดสีของวัสดุที่เป็นฉนวนบางชนิด ซึ่งการค้นพบปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์
- ในปี ค.ศ. 1749 ในการทดลองที่อันตราย 2-3 ครั้ง ของเบนจามิน แฟรงคลิน แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของฟ้าผ่า
- ในปี 1780 ลุยจิ กัลป์วานี ได้พบว่า เมื่อเขาคีมขากบทดลองกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิตที่วางอยู่บนจานโหละ ทำให้ขากบเกิดการเคลื่นไหว และหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
- ในปี ค.ศ. 1880 เอดิสัน ได้มีการยกระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อให้ส่งกระแสไฟฟ้าไปได้หลายๆ กิโลเมตร ซึ่งได้ยกระดับแรงดันถึง 100 โวลต์ดีซี และเพิ่มแรงดัน ถึง 1,300 โวลต์ดีซี ในปี 1882 (ใช้ในงานแสดงสินค้าในเมืองมิวนิก) และ ถึง 3,000 โวลต์ดีซี (ซึ่งเชื่อมระหว่างเมือง Grenoble-Vigille)
- ในปี ค.ศ. 1883 จากประสบการณ์ในการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าของอดิสัน ทำให้รู้ว่าเมื่อเกิดความผิดพร่องของฉนวนทำให้เกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้าและเกิดการลัดวงจน และจากประสบการณ์เช่นเดียวกัน ที่แรงดันระดับแรงดันไฟฟ้า 100 โวลต์ดีซี นั้นสามารถสัมผัสได้โดยไม่มีความเสี่ยง
- ในปี ค.ศ. 1886 เทสล่า และ เวสติงเฮาซ์ ได้มีการสร้างระบบจำหน่ายขึ้นในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 500 โวลต์เอซี 12 แอมป์ และมีหม้อแปลงขนาดเล็ก 16 ลูก สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟ ด้วยแรงดัน 100 โวลต์เอซี เป็นครั้งแรก
- ในปี ค.ศ. 1889 เกิดการต่อสู้ทางความคิดขึ้นระหว่างระบบไฟฟ้าเอซีและดีซี ในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยเอดิสันได้กล่าวปกป้องระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ของเขา และอธิบายถึงอันตรายของไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ของเทสล่าและเวสติงเฮาซ์ ว่ามีอันตรายต่อบุคคลโดยทดลองดูกับสุนัขและม้า
เอดิสันได้ท้าทายเวสติงเฮาซ์กันตัวต่อตัว โดยที่แต่ละคนรับแรงดันที่ระดับเท่ากัน โดยเริ่มด้วยแรงดัน 100, 150, 200 โวลต์ และแรงดันอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเอดิสันจะป้อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรง และเวสติงเฮาซ์ป้อนด้วยไฟฟ่ากระแสสลับ ซึ่งเอดิสันทายว่าเวสติงเฮาซ์จะตายถ้าแรงดันถึง 200 โวลต์เอซี ผลการท้าทายไม่ปรากฏผลออกมา แต่มีเหตุการณ์ช่างโทรเลขได้ปีนเสาถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตในกลางกรุงนิวยอร์ก
- ในปี ค.ศ. 1980 เอดิสันได้ประดิษฐ์เก้าอี้ไฟฟ้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าไฟฟ้ากระแสสลับมีอันตรายกว่าไฟฟ้ากระแสตรงของเขา โดยนำไปใช้กับ เครมเมอร์นักโทษประหาร โดยการถูกให้นั่งเก้าอี้ไฟฟ้าและถูกดูดด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นคนแรก
- ดังนั้นในสิ้นศตวรรษที่ 19 ได้เป็นที่ประจักษ์ในวงการวิทยาศาสตร์ว่า กระแสไฟฟ้ามีอันตรายต่อมนุษย์ และกระแสไฟฟ้าสลับมีอันตรายมากกว่าไฟฟ้ากระแสตรง (ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าเดียวกัน)
Cr. จากหนังสือการต่อลงดินระบบไฟฟ้า เล่ม 1 เขียนโดย อ. วิวัฒน์ กุลวงศ์วิทย์

รูปภาพของ ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

กระแสไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้าคืออะไร

จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับไฟฟ้าสถิตย์ เรียกว่า ไฟฟ้าเคลื่อนไหว

สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม
ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน

ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A)
กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า 2 ตัวที่วางขนานกันโดยมีระยะห่าง 1 เมตร แล้วทำให้เกิดแรงในแต่ละตัวนำเท่ากับ 2 x 10 ยกกำลัง (-7) นิวตันต่อเมตร หรือเท่ากับประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ซึ่งเทียบได้กับอิเล็กตรอน 6.24 x 10ยกกำลัง(18) ตัววิ่งผ่านใน 1 วินาที

การกำหนด สาขาวิศวกรรมควบคุม


การกำหนด สาขาวิศวกรรมควบคุม


การกำหนด สาขาวิศวกรรมควบคุม(ส่งเสริม) เพิ่มเติม เพื่อรองรับการเปิด AEC
ปัจจุบัน สาขาวิศวกรควบคุมของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติวิศวกร นั้น มีอยู่ 7 สาขา คือ 

1. วิศวกรรมโยธา
2. วิศวกรรมเหมืองแร่ 
3. วิศวกรรมเครื่องกล
4. วิศวกรรมไฟฟ้า
5. วิศวกรรมอุตสาหการ
6. สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
7. สาขาวิศวกรรมเคมี

แต่เพื่อเป็นการเปิดรับ วิศวกรอาเซียน ซึ่ง ในแต่ละประเทศ สาขาก็ไม่ตรงกัน การขยายสาขา คือขยยาย ขอบเขต งานเพื่อ ส่งเสริมได้ทั้ง ขาเข้าและขาออกนอกประเทศ สภาวิศวกรได้มีการเตรียมการขยายสาขาวิศวกรควบคุม (ส่งเสริม) โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิศวกร ในมาตรา 4 ออก กฎกระทรวง เพื่อกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือส่งเสริม เพิ่มเติม เป็นประมาณดังรูปนี้ ครับ ทั้งนี้ ยังอยู่ในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ต่อไป จนออกมาเป็น version สุดท้ายครับ คาดว่าคงได้ใช้กันในอีกไม่นานนี้

สำหรับ วิศวกร ที่มีใบอนุญาต วิศวกรรมควบคุม แบบ 7 สาขาเดิมอยู่แล้ว ไม่ต้องดำเนินการทำอะไร ให้ใช้ แบบเก่า สาขาเก่าไปต่อได้เลยครับ ส่วนถ้าถามว่า สาขาต่างๆที่งอกมา ดังอยู่ในร่างนี้นั้น มีมาได้ยังไง ก็มีทั้งจากที่เป็นสาขาควบคุมในประเทศอื่นใน อาเซียนของเรา หรือไม่ก็เป็นสาขาที่มีการสอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัยปัจจุบันของไทยนี้ครับ การร่างสาขาวิชาชีพเพิ่มจึงเป็นไปตามการร้องขอของผู้ผลิตวิศวกร เช่นกัน

อนึ่ง ความเห็นแตก เป็นหลายเสียง นักศึกษาที่เรียนในสาขาที่มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเปิดใหม่ เพื่อพยายามให้มีอัตลักษณ์ของมหาลัยตนนั้น ในหลายสาขา เมื่อจบมาแล้ว ก็ไม่สามารถยื่นรับ ใบประกอบวิชาชีพได้ ซึ่งเป็นที่กังวลของนักศึกษาอยู่ไม่น้อย
ความเห็นอีกด้าน บอกว่าสาขาใหม่ๆที่ระบุอยู่นั้น มีโอกาสเกิดยากมาก เนื่องจากมหาวิทยาลัย ผู้ผลิตวิศวกรเหล่านั้น อาจไม่เอาด้วย เพราะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด และทำให้หลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย อาจมีความคล้ายคลึงกันหมด ทำให้ขาดความน่าสนใจในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็เป็นได้

อีกความเห็น บอกว่า การไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดสาขาวิชาชีพเพิ่ม เพราะจะทำให้จะต้องกำหนดสาขาไปไม่สิ้นสุด และเกิดกรรมการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปไม่สิ้นสุด เราเพียงคงสาขาวิชาชีพวิศวกรรมไว้เหมือนเดิม และให้สาขาใหม่ เป็นแขนงวิชาของสาขาเดิมก็เพียงพอแล้ว

ผลจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกัน ตอนต่อไปครับ
Cr. ดร. พงศ์ธร ธาราไชย ประธานประชาสัมพันธ์ วสท. 2557-2559 (ผู้เขียน)
http://www.coe.or.th/_coe/_product/20150423163055-3.pdf

เเรงดันไฟฟ้า

เเรงดันไฟฟ้า

รูปภาพของ ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)

แรงดันไฟฟ้าคืออะไร

กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า 

แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า, แบตเตอรี่, ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V) 
แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม

ที่มา
https://www.facebook.com/ElectricalRm/

LED 


LED 



LED..อนาคตของแสงสว่าง ที่ช่วยให้โลกเราเย็นลง...
LED หรือ หลอดไฟ LED ย่อมาจากคำว่า Light-Emitting Diode หรือ ไดโอดเปล่งแสง ซึ่ง สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างที่ดีกว่าหลอดไฟทั่วๆไปมาก

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

Light-Emitting Diode (LED) เป็นอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (semiconductor) ที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของมันได้ ทำให้เกิดแสงสว่าง เมื่อไดโอดให้แสงออกมาแล้ว ถ้าเราไม่ควบคุมทิศทาง แสงจะกระจัดกระจาย และวิ่งออกมาอย่างไม่เป็นระเบียบ ทำให้ความเข้มของแสงน้อยลง ดังนั้นในหลอด LED เราจะใช้พลาสติกหุ้ม และเอียงให้แสงสามารถสะท้อนออกไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้
ด้วยเหตุนี้หลอด LED จึง ประหยัดพลังงานกว่าหลอดไฟแบบไส้อย่างมาก เพราะไม่ต้องใช้การเผาไหม้ของไส้หลอด สำหรับหลอดมีไส้ แสงที่ได้ออกมาเกิดจากการเผาไส้หลอดให้ร้อนจนเกิดแสง แน่นอนพลังงานที่สูญเสียจากการเผาไหม้นั้นมากมาย ส่วนหลอด LED ที่ใช้เทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ จึงแทบไม่ปล่อยความร้อนออกมาเลย พลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นแสงทั้งหมด หลอดไฟ LED จึงไม่ร้อน และไม่ปล่อยรังสีอินฟาเรต และ รังสีอัลตราไวโอเรต ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนัง



รูปภาพของ ห้องไฟฟ้า (Electrical Room)
    

การสื่อสารข้อมูล

b3-2
                  ในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูล  มีบทบาทและความสำคัญที่ได้พัฒนาเผยแพร่ข้อมูลไปยังผู้ใช้โดยส่งผ่านสื่อกลางต่างๆ ซึ่งสื่อตัวกลางแต่ละแบบ ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
          1. สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล               
                  การสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์  จะมีสื่อกลางสำหรับเชื่อมโยงสถานีหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้ส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้ สื่อกลางการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้               
         1) สื่อกลางทางกายภาพ ( Physical Media) เป็นการเชื่อมโยงสถานีระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดยอาศัยสายสัญญาณเป็นสื่อกลางในระบบสื่อสารข้อมูล  ตัวอย่างสายสัญญาณมีดังนี้
          king_orange  สายตีเกลียวคู่ (Twisted Pair Cable:TP)
               ประกอบด้วยลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกจำนวน 4 คู่ แต่ละคู่จะพันเป็นเกลียว ซึ่ง 2 คู่จะใช้สำหรับช่องทางการสื่อสาร 1 ช่องทาง สายตีเกลียวคู่เป็นตัวกลางที่เป็นมาตรฐานใช้สัญญาณเสียงและข้อมูลได้ระยะเวลานาน สายสัญญาณประเภทนี้นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ (Telephone Line) เพื่อส่งสัญญาณโทรศัพท์
unshielded_cable
          king_orange  สายโคแอกเซียล(Coaxial Cable)
            ประกอบด้วยสายทองแดงเพียงเส้นเดียวเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก  สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าสายตีคู่ประมาณ 80 เท่า ส่วนใหญ่จะใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์
ENVIROFLEX_Coaxial_cable
          king_orange  สายใยแก้วนำแสง(Fiberoptic Cable)
           ประกอบด้วยเส้นใยแก้วขนาดเล็กซึ่งหุ้มด้วยฉนวนหลายชั้นโดยการส่งข้อมูล ใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านหลอดแก้วขนาดเล็ก  ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วถึง 26,000 เท่า ของสายตีเกลียวคู่ มีน้ำหนักเบาและมีความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลมากกว่าสายโคแอกเซียล  อีกทั้งการส่งข้อมูลจะใช้ลำแสงที่มีความเร็วเทียบเท่ากับความเร็วของแสง ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้จำนวนมากเป็นระยะทางไกลด้วยความเร็วสูง
2013_07_25_112649_0_GhLeNDDC

          2. สื่อกลางไร้สาย(Wireless Media)               
                    เป็นการเชื่อมต่อที่ไม่ต้องใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูล แต่จะใช้อากาศเป็นสื่อกลาง ตัวอย่างสื่อกลางไร้สาย มีดังนี้
4_44
          king_orange  อินฟราเรด(Infrared)
                       เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลในระยะไม่ไกล  การส่งข้อมูลในระยะไม่ไกล การส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้  นิยมใช้ในการส่งถ่ายโอนข้อมูลสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพีดีเอไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  เป็นต้น                   
          king_orange   คลื่นวิทยุ(Radio Wave)
                       เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง อุปกรณ์พิเศษนี้เรียกว่า เครื่องรับส่ง (Transceiver) ทำหน้าที่รับและส่งวิทยุจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น  โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ที่สามารถเปิดเข้าถึงเว็บไซด์ได้เป็นต้น ผู้ใช้บางรายใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการเชื่อมต่อเพื่อใช้บริการอินเตอร์เน็ต
                       ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใช้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ คือ บลูทูธ (Bluetooth) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุระยะสั้น เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารในระยะไม่เกิน 33 ฟุต การส่งสัญญาณสามารถส่งผ่านสิ่งกีดขวางได้ ทำให้เทคโนโลยีบลูทูธได้รับความนิยมสูงจึงมีการนำมาบรรจุไว้ในอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่  เครื่องพีดีเอ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์   เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น
          king_orange  ไมโครเวฟ(microwave)                       
                      เป็นการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความเร็วสูง ส่งสัญญาณเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งในแนวเส้นตรง ไม่สามารถโค้งหรือหักเลี้ยวได้  สามารถรับส่งได้ในระยะทางใกล้ๆนิยมใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างอาคารที่อยู่ในเมืองเดียวกัน หรือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสำหรับการสื่อสารระยะทางไกลๆต้องใช้สถานีรับและขยายสัญญาณ  ซึ่งมีลักษณะเป็นจานหรือเสาอากาศ เพื่อรับส่งสัญญาณเป็นทอดๆ โดยติดตั้งบนพื้นที่สูงๆ เช่น ยอดเขา หอคอย ตึก เป็นต้น โดยปกติความถี่ไมโครเวฟอยู่ในช่วงคลื่นอินฟาเรด  ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการคมนาคมและการทำอาหาร                  
         king_orange   ดาวเทียม( Satellite)
                       เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่เนื่องจากเป็นคลื่นที่เดินทางในแนวเส้นตรง  ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่เหนือพื้นผิวโลก  ทำหน้าที่เป็นสถานีขนส่งและรับข้อมูล  ถ้าหากเป็นลักษณะการขนส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่า การเชื่อมโยงขึ้นหรืออัปลิงค์ (Uplink) ส่วนการรับข้อมูลจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน เรียกว่า การเชื่อมโยงลงหรือดาวน์ลิงค์ (Downlink) ทั้งนี้ มีระบบเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมและอาศัยการทำงานของดาวเทียมเป็นหลัก คือ ระบบจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ที่ช่วยตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่บนพื้นโลก เช่น การติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้ในรถและทำงานร่วมกับแผนที่ ผู้ใช้สามารถขับรถไปตามระบบนำทางได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์จีพีเอสมาติดตั้งในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย


-GPS_2~1

ที่มา
http://www.kruartit.com/bottee3-2.html